วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของคอมเตอร์


คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว
เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine)
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค





 
เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี 
คอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1
จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
-      ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
-      ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
-      เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน

มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง

 คอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
-      ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
-      เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
-      มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
-      สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
-      เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก 
คอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3
นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)

Integrated Circuit : IC
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
-      ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
-      ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
·                                 ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป
เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้
ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor)
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
-      ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
-      มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)
ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล
องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่
1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)
คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม
2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น
เครื่องคิดเลขพูดได้ และนาฬิกาปลุกพูดได้

3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น 

อ้างอิงจาก http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/menu2.htm

แผนการสอน วิชา งานเกษตร(ง. 21204) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพญาลอวิทยาคม อำเภอจุน จังหวัดพะเยา


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  รายวิชา งานเกษตร (ง. 21204) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
หน่วยการเรียนรู้ที่  2                เรื่อง กระบวนการผลิตพืช                                       เวลา  14  ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1      เรื่อง การคัดเลือกและขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ด     เวลา    2   ชั่วโมง

1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
มาตรฐาน ง 1.1        เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะ การจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะ การแสวงหาความรู้  มีคุณธรรม    และลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึก ในการใช้พลังงาน  ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ตัวชี้วัด     1.1        วิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานตามกระบวนการทำงาน 
       1. 2           ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ
มาตรฐาน ง 4.1      เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนา                อาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด      4.2      มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ
                   4.3      เห็นความสำคัญของการสร้างอาชีพ
2. สาระสำคัญ
             การปลูกพืชด้วยเมล็ดไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดใดก็ตามถ้าเราต้องการที่จะให้พืชเจริญเติบโตมีลำต้นสมบูรณ์  แข็งแรงและให้ผลผลิตสูงเราจะต้องมีวิธีการคัดเลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสม เพื่อให้ได้พันธุ์ดีตามที่เราต้องการและ  ต้องมีวิธีการปลูกพืชที่เหมาะสมก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ และให้ผลผลิตตามที่ต้องการ

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

             3.1 สามารถคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อนำไปเพาะปลูกได้ (P)
             3.2 บอกปัจจัยที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชด้วยเมล็ดได้ (K)
             3.3 อธิบายหลักการและวิธีการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดได้ (K)
             3.4 อธิบายวิธีการปลูกพืชด้วยเมล็ดได้อย่างเหมาะสม (P)
             3.5 มีเจตคติต่อวิชางานเกษตร (A)
             3.6 รู้จักใช้วัสดุ-อุปกรณ์การเรียนรู้อย่างประหยัดและรู้คุณค่า (A)


4. สาระการเรียนรู้
4.1 ด้านความรู้
4.1.1 ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชด้วยเมล็ด
4.1.2 หลักและวิธีการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ด

4.2 ด้านทักษะกระบวนการ
4.2.1 คัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชในการเพาะปลูก
4.2.2 วิธีการปลูกพืชด้วยเมล็ด

4.3 ด้านคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                                 4.3.1 เจตคติที่ดีต่อวิชางานเกษตร
                                 4.3.2 การใช้วัสดุ-อุปกรณ์ อย่างประหยัดและรู้คุณค่า

5. กระบวนการจัดการเรียนรู้   แบบสาธิตเป็นกลุ่ม
5.1 ขั้นนำ
             - นำเสนอวีดีทัศน์
             - กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน โดยการสนทนา ซักถามนักเรียนว่า เคยปลูกพืชด้วยตนเองหรือไม่
               ถ้าเคย เคยปลูกอะไร และมีวิธีการปลูกอย่างไร

5.2 ขั้นสาธิต
             - บอกจุดประสงค์การเรียนรู้/การสาธิต  และเรื่องราวการปลูกพืชโดยการใช้เมล็ด  ให้นักเรียนทราบ
             - ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม  ในห้องเรียน  5  กลุ่ม
             - แจก  วัสดุ  อุปกรณ์  สื่อ  การสาธิตให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม
             - ครูแสดงการสาธิต  และให้นักเรียนจดบันทึกในการสังเกตการณ์สาธิตของครู
             - นักเรียนทำการทดลองปลูกพืช ตามแบบขั้นตอนที่ได้บันทึกไว้
             - จดบันทึกการสาธิตของนักเรียน

5.3 ขั้นสรุป
             - ให้นักเรียนเขียนสรุปผลการสาธิตของนักเรียนในแต่ละกลุ่ม
             - นักเรียนส่งผลสรุปแก่ครู   
             - ครู-นักเรียนร่วมการสรุปผลการสาธิต
             - แจกแบบประเมินผลงานตนเอง ของนักเรียน  ต่อการเรียนรู้
             - นักเรียนกรอกแบบประเมินผลงานตนเองส่งครู

5.4 ภาระงาน
                - นักเรียนได้ ถาดหลุมที่เพาะเมล็ดพืชอย่างสมบูรณ์
- นักเรียนส่งใบงานเรื่อง การเพาะเมล็ดพันธุ์พืช

6.  สื่อการเรียนรู้/อุปกรณ์
                                             6.1   เมล็ดพันธุ์พืช
                                             6.2   ดินผสม
                  6.3   ถาดหลุมเพาะพันธ์พืช
                  6.4   ดินผสม
                                             6.5  บัวรดน้ำ
                  6.6   กระดาษ A4
                  6.7  วีดีทัศน์
                  6.8  แผ่นสไลด์
                  6.9  ไม้ไผ่เจาะหลุม
                  6.10 ถังน้ำ
                  6.11 ช้อนปลูก
                  6.12 แก้วสำหรับใส่เมล็ดพันธ์พืช

7. แหล่งเรียนรู้
                1. ห้องเรียน

8.   การวัดผลและประเมินผล
จุดประสงค์การเรียนรู้
วิธีวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การผ่าน
1. ด้านความรู้
        1.1 แบบประเมินผลงานของนักเรียน
        1.2 แบบประเมินผลงาน
             (เพื่อนเป็นผู้ประเมิน)
        1.3 แบบประเมินผลงาน
             (ครูเป็นผู้ประเมิน)

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ
        2.1 แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
     
        2.2 แบบประเมินสมรรถนะ


3. ด้านคุณลักษณะอังพึงประสงค์
        3.1 ความมีวินัย
        3.2 ใฝ่เรียนรู้
        3.3 อยู่อย่างพอเพียง
        3.4 มุ่งมั่นในการทำงาน


ศึกษา / สังเกต






สังเกต




 สังเกต

 

แบบประเมิน

( รูบิค )





2.1 แบบสังเกต
พฤติกรรมกลุ่ม
2.2 แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน

แบบประเมินคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์

ระดับ 3 ขึ้นไป
หรือ ร้อยละ 50





ระดับ 3 ขึ้นไป
หรือ ร้อยละ 75



ระดับ 3 ขึ้นไป
หรือ ร้อยละ 75


  
9. ข้อเสนอแนะ
................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................

10. ความเห็นของผู้บริหาร
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
                                                                                                                 ลงชื่อ .............................................
                                                                                                                             (..........................................)
                                                                                                                               ผู้อำนวยการสถานศึกษา
                                                                                                                             ................/................/..............

11. บันทึกหลังการสอน
11.1    ผลการสอน
................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
11.2    ปัญหา/อุปสรรค
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................

11.3    ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
               
ลงชื่อ......................................
ผู้สอน(นายปรีชา  ธิดาราม)              
................/.............../..............




ประวัติผู้จัดทำ


ประวัตินักศึกษามหาลัยราชภัฎเชียงราย
นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู  วิทยาเขตเชียงคำ
รหัสนัก 537003001

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ                          นายปรีชา  ธิดาราม
ที่อยู่                        บ้านเลขที่ 73 หมู่ 2 ต.แม่นาวาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 50280
วัน/เดือน/ปี           เกิด25  กรกฎาคม  2528
อายุ                         25
ส่วนสูง                  180
น้ำหนัก                 62
เพศ                         ชาย
เบอร์โทร               086-1152707
ที่อยู่อีเมล               sampreecha13@gmail.com

ประวัติการศึกษา
มัธยมตอนต้น       โรงเรียนพระปริญัติธรรมวัดท่าตอนจังหวัดเชียงใหม่
มัธยมตอนปลาย    โรงเรียนพระปริญัติธรรมวัดท่าตอนจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศณียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงรายจังหวัดเชียงราย
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติการทำงาน
1         มูลนิธิโครงการหลวงแม่แฮ               จังหวัดเชียงใหม่                  ผู้ช่วยนักวิจัย
2         โรงเรียนพญาลอวิทยาคม จังหวัดพะเยา                       ครูอัตราจ้างสอนวิชาเกษตร

คติ
งานหนักไม่เคยฆ่าคน